โรงเรียนกาสรกสิวิทย์

ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานวโรกาสให้ นายสมจิตต์ และนางมณี อิ่มเอย น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินตำบลศาลาลำดวน อำเมืองเมือง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 110-3-81 ไร่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เพื่อให้เป็นถานที่ฝึกกระบือให้สามารถทำการเกษตร และเป็นแหล่งที่ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเกษตรท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งให้เกษตรกรได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียง
วันอังคารที่ 13 มกราคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ในครั้งนั้นได้พระราชทานหญ้าสดแก่กระบือทรงเลี้ยง ทอดพระเนครบ้านพักปราชญ์ท้องถิ่นและการก่อสร้างบ้านดินในขึ้นตอนต่างๆ ทรงฟังบรรยายแนวทางและแผนการดำเนินงานด้านต่างๆ ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ อาทิเช่น การฝึกกระบือผู้เรียนรู้ การอบรมเกษตรกร การทำแปลงฝึกการไถนา การปลูกข้าว ทรงเยี่ยมราษฎร และได้มีรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยายาศาสตร์ขึ้น เพื่อทำการวิจัยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบือ และอาหารของกระบือ
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนารวบรมกระแสรับสั่งทั้งหมดมาดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์เสร็จเรียบร้อย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม 2552 ในการเสด็จครั้งนี้ได้ทอดพระเนครการฝึกกระบือไถนา คราด และตีลูกทุบ ซึ่งเป็นการเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว ทรงฟังบรรยายเรื่องหลักสูตรการฝึกกระบือและการดูแลกระบือ ทอดพระเนตรห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิทรรศการแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรแบบดั้งเดิม และทรงปล่อยปลาไทยลงในสระมะรุมล้อมรัก


วัตถุประสงค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกกระบือให้สามารถไถนาและทำงานด้านการเกษตรกรรม และสอนผู้ที่ตเองการใช้กระบือทำการเกษตรให้สามารถทำงานร่วมกับกระบือได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลกระบือให้มีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้จะเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านที่เรียบง่าย และการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย




กิจกรรมที่ได้ดำเนินการในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

1. การกอบรมเกษตรกรและการฝึกกระบือผู้เรียนรู้
โรงเรียนการสนกสิวิทย์มีปราชญ์ท้องถิ่น 6 คน เป็นหลักในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำการเกษตร ให้เกษตรกร เยาวชน และประชาชนที่สนใจการใช้กระบือทำการเกษตร หลักสูตรการฝึกกระบือจากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราดำริใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน และหลักสูตรการฝึกอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษา 3 วัน
            หลักสูตรการฝึกกระบือของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะฝึกกระบือให้เชื่องและสามารถไถนาได้อย่างชำนาญ และฝึกเกษตรกรให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตร่วมกับกระบือ สามารถใช้อุปกรณ์ไถนาได้อย่างถูกต้อง ควบคุมกระบือให้อยู่ในคำสั่ง สามารถเลี้ยงและดูแลกระบือ มีความรู้ในการจัดการเรื่องหญ้าและอาหารเสริม นอกจากนี้จะเสริมความรู้ด้านการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง





ถ้ำทะลุเขาฉกรรจ์

ป็นภูเขาหินปูนรูปลักษณ์แปลกตา มีโพรงถ้ำที่น่าเที่ยวชมหลายแห่ง บางแห่งเป็นที่อาศัยของลิงวอกฝูงใหญ่ นอกจากนี้ในช่วงค่ำค้างคาวจะพากันบินออกจากถ้ำไป
หากินเป็นภาพที่สวยงามน่าชมที่ตั้ง อยู่ภายในวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ บ้านเขาฉกรรจ์ ต.เข้าฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ ห่างจากตัวเมืองสระแก้วประมาณ 18 กิโลเมตร รถยนต์ จากสามแยกสระแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 317 ไปทาง อ.เขาฉกรรจ์ประมาณ 16 กิโลเมตร พบสวนรุกขชาติเขาฉกรรจ์ทางซ้ายมือ เลยไปเล็กน้อยพบทางแยก ให้เลี้ยวซ้ายประมาณ 250 เมตร ถึงเขาฉกรรจ์

สิ่งที่น่าสนใจ เขาฉกรรจ์เป็นเทือกเขาหินปูนสามลูกต่อเนื่องกันยอดกลางสูงสุด สูง 324 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเป็นหน้าผาสูงชันทำมุมเกือบตั้งฉากกับพื้นดิน พื้นผิวหน้าผาเป็นริ้วคล้ายม่าน ตามหลืบหินมีพรรณไม้นานาชนิดขึ้นแซม ปัจจุบันจัดเป็นสวนรุกขชาติ ผู้สัญจรผ่านไปมาบนทางหลวงสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล

ถ้ำทะล ตั้งอยู่บนส่วนยอดของเขาฉกรรจ์ เป็นถ้ำหนึ่งในจำนวน 72 ถ้ำของเขาฉกรรจ์ต้องเดินขึ้ยบันไดพญานาคไปหว่า 300 ขั้น ถ้ำมีลักษณะเป็นช่องโหว่กลางเขาทะลุไปอีกด้านหนึ่งหากมองจากด้านล่างขึ้นไปจะมองช่องทะลุได้อย่างชัดเจน ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูป พระพุทธบราทจำลอง และฤาษีสองตน ให้ผู้ศรัทธาได้เข้ามานมัสการ


ลิงวอก ช่วงเช้าและช่วงเย็นลิงวอกนับพันตัวที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขาฉกรรจ ์จะพากันลงมารอรับอาหารจากนักท่องเที่ยวที่บริเวณลานจอดรถการปีนป่ายลงมาตามหน้าผาสูงชันของบรรดาลิง เป็นความสามารถและพฤติกรรมที่น่าสนใจ ลิงบางตัวมีลูกน้อยตัวเล็กจิ๋วขนาดเท่าลูกแมวเกาะอกแม่ลงมาด้วย


ละลุ (Lalu)”

ละลุ (Lalu)” ดินแดนมหัศจรรย์ ซึ่งเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ละลุ เป็นภูมิประเทศที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดจากน้ำฝนที่กัดเซาะและการพังทลายของดินและยุบตัว ส่วนดินที่แข็งจะยังคงอยู่ เมื่อถูกลมกัดกร่อนจะมีลักษณะเป็นรูปต่างๆ ดูคล้ายกับกำแพง เมืองหน้าผาโดยใช้เวลาตั้งแต่ 20,000-50,000 ปี การสะสมของตะกอนดินใช้เวลาถึง 150 ล้านปี จึงเหมาะเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ในบริเวณละลุยังมีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หลายชนิด ละลุตั้งอยู่บนเนื้อที่ 2,000 ไร่ มีลักษณะคล้ายกับ แพะเมืองผีในจังหวัดแพร่ แต่จะมีขนาดเล็กกว่า บางท่านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า แพะเมืองผีแห่งใหม่คำว่า ละลุเป็นภาษาเขมร แปลว่า ทะลุ

สถานที่ตั้งละลุ : บ้านเนินขามและบ้านคลองยาง ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว 27180
วันและเวลาเปิดทำการ : เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น.
การเดินทางมายังละลุ :
กรณีเดินทางจาก อ.อรัญประเทศ ไปตามทางหลวงหมายเลข 348 สายอรัญประเทศ-ตาพระยา จากนั้นเลี้ยวซ้ายที่บ้านกุดเตย หลักกิโลเมตรที่ 35-36 ไปตามทางหลวงหมายเลข 3486 สายบ้านโคคลาน-บ้านคลองยาง ระยะทางโดยประมาณ 18 กิโลเมตร จากบ้านคลองยางเป็นถนนลูกรังเข้าไปถึงหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงละลุ
ทั้งนี้นักท่องเที่ยวที่สนใจควรติดต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เพื่อขอใช้บริการรถเพื่อเที่ยวชมความงดงามภายในบริเวณละลุ นอกจากนี้ยังมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่จะบรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ : 03724-9708-9, 08-9098-0772 หรือ อบต.ทัพราช หมายเลขโทรศัพท์ 03724-3724 สำหรับค่าเช่ารถประมาณ 200 บาท นั่งได้ประมาณ 8-10 คน




สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ช่องกล่ำบน

ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๕  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันคือโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดสระแก้ว-ปราจีนบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์กับคณะทำงานตามโครงการฯ ดังกล่าวว่า บริเวณด้านล่างของอ่างเก็บน้ำช่องกล่ำบน มีสภาพเหมาะสม น่าจะทำเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์   อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์สัตว์ป่า และสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงให้อยู่ในสภาพดีด้วย
กรมป่าไม้  โดยกองอนุรักษ์สัตว์ป่าในขณะนั้น  จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน ขึ้นในพื้นที่ ๔๓๐ ไร่ ท้องที่หมู่ที่ ๑ บ้านคลองคันโท  ตำบลหนองหมากฝ้าย  อำเภอวัฒนานคร  จังหวัดสระแก้ว  ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติปางสีดา  โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๖

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเสด็จเยี่ยมชมสัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  เมื่อวันที่  ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๔








และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จเยี่ยมชมสัตว์ป่าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๙



สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  ได้มุ่งเน้นการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด  ทั้งสัตว์ปีก  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลาน



เป็ดก่า  เป็นสัตว์ป่าที่มีสถานภาพใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง  ให้ผลผลิตลูกเป็ดก่าทุกปี



สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน ได้เริ่มทำโครงการศึกษาทดลองเพาะพันธุ์นกเงือกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งในฤดูการทำรังวางไข่ปีแรก มีแม่พันธุ์นกแก๊ก ทำรังและปิดปากโพรงเพียง ๘ ตัว และให้ผลผลิตเพียง ๓ แม่พันธุ์ (ร้อยละ ๓๘ ของแม่พันธุ์ที่เข้าโพรงรัง)  โดยได้ลูกนกแก๊ก จำนวน ๕ ตัว


ในฤดูการทำรังวางไข่ ปี ๒๕๕๒  มีแม่พันธุ์นกแก๊กเข้าโพรงและปิดปากโพรง จำนวน ๑๔ แม่พันธุ์และให้ผลผลิต ๑๑ แม่พันธุ์ (ร้อยละ ๗๙ ของแม่พันธุ์ที่เข้าโพรงรัง) ได้ลูกนกแก๊ก จำนวน ๑๗ ตัว และปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีแม่พันธุ์นกแก๊กทำรังและปิดปากโพรง จำนวน ๑๕ ตัว  และให้ผลผลิต ๑๔ แม่พันธุ์ (ร้อยละ ๙๓ ของแม่พันธุ์ที่เข้าโพรงรัง) ได้ลูกนกแก๊ก  ๑๗ ตัว


นกกก หรือ นกกาฮัง  ซึ่งเป็นนกเงือกขนาดใหญ่  ในฤดูการทำรังวางไข่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓         มีแม่พันธุ์นกกก ทำรังและปิดปากโพรงรัง จำนวน ๑ ตัว และให้ผลผลิตลูกนกกก  ๑ ตัว

กิจกรรม
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  มีกิจกรรมที่จะสามารถร่วมสนับสนุนโครงการตามรอยเบื้องยุคลบาท ๘๔ พรรษา (ตามรอยพ่อ) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ดังนี้
1.      กิจกรรมตามรอยแม่นกเงือกผู้ยิ่งใหญ่
ในฤดูการทำรังวางไข่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ (มกราคม พฤษภาคม ๒๕๕๔)  คาดว่าจะมีแม่พันธุ์นกแก๊ก เข้าโพรงรังและปิดปากโพรง ประมาณ ๑๕ แม่พันธุ์ และนกกก ไม่น้อยกว่า ๑ แม่พันธุ์  สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน มีเป้าหมายที่จะติดตั้งกล้องวงจรปิด บนโพรงรัง ของแม่พันธุ์นกเงือกเหล่านั้น  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำรังวางไข่ของแม่พันธุ์นกเงือก  ซึ่งจะทำให้ทราบข้อเท็จจริงว่า  เมื่อแม่พันธุ์นกแก๊ก เข้าโพรงรังและปิดปากโพรง โดยขังตัวเองไว้ในโพรงรังแคบๆ เป็นเวลาประมาณ ๙๐ วัน และแม่พันธุ์นกกก ประมาณ ๑๒๐ วันนั้น
แม่พันธุ์นกเงือกเหล่านั้นทำอะไรบ้าง  วางไข่วันใด  กกไข่กี่วันไข่นกจึงฟักเป็นลูกนกเงือก  และยื่นปากออกมารับอาหารจากพ่อพันธุ์ที่รับภาระหาอาหารมาป้อนตลอดฤดูการทำรังวางไข่  วันละกี่ครั้ง  ถ่ายมูลวันละกี่ครั้ง  มีความยากลำบากเพียงใดในภาวะที่ต้องอยู่ในโพรงรังแคบๆ
เป็นที่น่าเสียดายว่า  สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน  อยู่นอกโครงข่ายการบริการระบบอินเตอเน็ตตามสาย  ทำให้ไม่สามารถเผยแพร่ภาพจากกล้องวงจรปิดเข้าสู่เว็บไซด์ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนได้   อย่างไรก็ตาม  ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมตามรอยแม่นกเงือกผู้ยิ่งใหญ่ ที่เสียสละความสุขส่วนตัว เข้าไปขังตัวเองอยู่ในโพรงรังแคบๆ เป็นเวลา ๓ ๔ เดือนได้ โดยเฝ้าดูภาพจากกล้องวงจรปิด   ได้ที่สำนักงานสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน และในฤดูการทำรังวางไข่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ (มกราคม พฤษภาคม ๒๕๕๕)    หากอาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าสร้างเสร็จแล้ว ประชาชนผู้สนใจจะสามารถเข้าเยี่ยมชมภาพดังกล่าวได้ที่อาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ซึ่งอยู่บริเวณริมถนนทางเข้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตลอดช่วงระยะเวลาการทำรังวางไข่ของนกเงือก
2. กิจกรรมตามรอยเป็ดก่า หลังปล่อยคืนป่า ที่ปางสีดา
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ได้มอบหมายให้ทุกสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า
จัดทำโครงการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบนจึงได้จัดทำโครงการเพาะพันธุ์เป็ดก่าเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเสนอของบประมาณสำหรับดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเป้าหมายที่จะเพาะพันธุ์เป็ดก่า สัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา  จำนวน ๒๐ ตัว  ซึ่งจะสามารถนำกิจกรรมดังกล่าวเข้าร่วมสนับสนุนโครงการตามรอยเบื้องยุคลบาท ๘๔ พรรษา (ตามรอยพ่อ) โดยให้ประชาชนผู้สนใจได้ร่วมกิจกรรมในวันปล่อยเป็ดก่าคืนสู่ธรรมชาติ  และสามารถติดตามศึกษาพฤติกรรมของเป็ดก่าภายหลังการปล่อยได้ตลอดเวลาที่เข้าเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติปางสีดา
3. กิจกรรมตามรอยเลียงผา สัตว์ป่าสงวน
กูเกิ้ลลูกเลียงผา เพศเมีย ซึ่งถูกยิงที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี สัตวแพทย์ได้
ทำการผ่าตัดและรักษาบาดแผลจนหายดีแล้ว  จึงมอบให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบนเลี้ยงดูจนเจริญเติบโตขึ้น  อย่างไรก็ตาม กูเกิ้ล ต้องเผชิญโลกตามลำพังโดยไม่มีแม่คอยชี้แนะ  ทำให้ต้องบาดเจ็บ จนกล้ามเนื้อซอกขาหน้าฉีก จากการกระโดดลงจากภูเขาจำลองที่เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมไว้ให้   ชีวิตของ กูเกิ้ล จะเป็นอย่างไรต่อไป ผู้สนใจทุกท่านสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน
กูเกิ้ลลูกเลียงผา เพศเมีย ที่ถูกพรานป่าใจร้ายยิงที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 
สัตวแพทย์ผู้ใจดีได้ทำการผ่าตัดและรักษาบาดแผลจนหายดีแล้ว จึงมอบให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบนเลี้ยงดูจนเจริญเติบโตขึ้น  เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมสภาพกรงเลี้ยงให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเลียงผา  สัตว์ป่าสงวนที่หายากในปัจจุบัน







แบบสอบถาม


แบบทดสอบก่อนเรียนค่ายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม


ประชาสัมพันธ์

วีดีโอตัวอย่างแหล่งเรียนรู้

แบบสำรวจความพึงพอใจ

สถิติผู้เข้าชม

บล็อกกลุ่มเครือข่าย